2560/03/16

[-描写-]บันทึกสิ่งที่ได้จากการฝึกบรรยายภาพเป็นภาษาญี่ปุ่น



สวัสดีค่ะ วันนี้กลับมาพบกันอีกแล้ว

ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า ไป Chula Expo กันรึยัง และไปห้องญี่ปุ่นมารึยังง

นิทรรศการทั้งส่วนหน้าและส่วนในทุกคนตั้งใจทำกันมากๆเลยนะ <3


อยากให้ได้ไปดู (และซื้อของหน้างาน) กันเยอะๆ 5555 



โฆษณาอย่างเปิดเผย 55555

อย่าลืมซื้อยากิโซบะและมัตฉะแสนอร่อยที่ใต้โถงมหาจักร

อร่อยจริงๆ ไม่ได้โม้นะะ นี่กินไปตั้ง 2 ถ้วย 55555 ก่อนถึงวันจริงมีการนัดไปซ้อมผัดกันด้วย

ทางเราอบรมเชฟอย่างจริงจังค่ะ 555




+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



เอาล่ะ... เข้าเรื่องกันดีกว่าค่ะ



กิจกรรมที่ทำในคาบครั้งนี้ คือให้จับคู่กับเพื่อน คนหนึ่งจะได้ดูการ์ตูน 4 ช่อง และบรรยายให้คนที่ไม่ได้ดูเข้าใจ
การ์ตูนที่ว่าคืออันนี้ค่ะ มี 2 อัน



รอบที่เราเป็นคนอธิบาย ได้รูปแรกค่ะ

ก็อธิบายมาได้แบบนี้ 555 (ถอดเสียงคลิป)


ある男の人があるホテルのロビーのソファに座っています。

彼のとなりに座っているのは、新聞を読んでいる人。

で、彼は暇だから......(เงียบนานมาก คือกำลังจะพูดว่า "เงยหน้าขึ้น" แต่คิดคำไม่ออก 55555)

前の方に見ました。

そこで、向こう側で地図を持っている観光客が、、、(พูดผิด) 観光客と目線が合いました。

で、その観光客がたぶん、道があまりわからないので、地図をもって彼の方に歩いてきた。

道を聞こうとしました。


 でも、その男の人は、たぶん知らない人と話したくないから、となりの新聞を読んでいる人にもっと近づいて、その新聞の後ろに自分を隠しました。


จะสังเกตได้ว่า มีบางจุดที่คิดคำไม่ออก และบางทีก็พูด ますบ้าง 普通体 บ้าง

คิดว่า สาเหตุเป็นดังนี้ค่ะ

1. ที่คิดคำไม่ออก เพราะปกติเวลาคุยภาษาญี่ปุ่น ส่วนมากจะพูดความรู้สึกตัวเองที่มีต่อเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ทั้งตัวเองและคู่สนทนารู้ดี ไม่ต้องอธิบาย เช่น เรื่องเรียน / ข่าวสาร

หรือไม่ ก็ตอบรับในสิ่งที่อีกฝ่ายพูดมา

โอกาสที่จะได้อธิบาย "ลักษณะ" "ท่าทาง" "การเคลื่อนไหว" ของอะไรบางอย่าง หรือใครบางคนนั้น น้อยมากๆ

(เราเป็นคนไม่ค่อยพูดด้วยแหละ...)



2. ที่พูด 丁寧体 普通体 สลับไปมา เพราะ.... ไม่รู้ว่าควรใช้อะไรดี

เป็นเหตุผลง่ายๆเลย 55555 แต่มักจะเกิดขึ้นเสมอๆ 
เพราะอีกฝ่ายเป็นเพื่อน แต่เรื่องที่คุยไม่ใช่บทสนทนานั่นเอง

กล่าวคือ ไม่รู้จะให้ความสำคัญกับ 相手 หรือเนื้อเรื่องดี

ถ้าเล่าให้เหมือนนิทาน ใช้ ます จะฟังดูเป็นนิทาน เรื่องเล่ากว่าหรือเปล่า? อันนี้เราคิดเองนะ

เคยฟังนิทานภาษาญี่ปุ่นมาบ้างนิดหน่อย เค้าก็ใช้ ます เล่า....



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


หลังจากนั้น อาจารย์ก็แจกวิธีบรรยายการ์ตูนข้างบน เวอร์ชั่นคนญี่ปุ่นพูดเอง ทำให้เรารู้ปัญหาของตัวเองมากขึ้น ไม่ใช่แค่การคิดคำไม่ออก แต่เราทำได้แค่ ทำให้คนฟัง "รู้" ว่าเกิดอะไรขึ้น (説明) แต่ไม่ได้ "เห็นภาพ" (描写)


เช่น เราพูดแค่ ชายคนหนึ่งนั่งอยู่ / ข้างๆ มีคนอ่านหนังสือพิมพ์ / ลุงนักท่องเที่ยวเข้ามาใกล้ ในขณะที่คนญี่ปุ่นจะเพิ่มคำต่างๆ ลงไป ให้เรื่องราวมีชีวิตชีวา มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น

อย่างเช่น

1. ใส่คำพูด หรือความรู้สึกของตัวละคร

「あっやばい!」と思った瞬間、その人が近づいてきました。
「しまった!」という表情の男B

2. การใช้ てしまう/てきる/ていく ทำให้เรื่องราวชัดเจนขึ้น

外国人は、子供に近づいてきた

3. คำบรรยายอื่นๆ ที่มีแล้วรู้สึกว่าเห็นภาพชัดเจนขึ้น / บรรยายสถานการณ์ของตัวละครได้ชัดเจน

二コマ目では、その外国人と一コマ目で暇そうにしていたビジネスマンらしい日本人と目が合った

外国語がさっぱりわからない彼は慌てふためき

愛想笑いをしながら男B に近づく

男Bは動揺のあまり、突拍子もない行動に

突然そのおじさんはにっこり笑い、何か頼みごとをしたそうな表情でぺエスケに歩み寄って来た。




นอกจากนี้ ยังมีหลายคำที่เราสนใจเลยจดไว้ และคิดว่าจะใช้ประโยชน์ต่อไปได้  จะยกตัวอย่างมาข้างล่างนี้ค่ะ



1. "แอบหลังหนังสือพิมพ์" เวอร์ชั่นต่างๆ

隣のおじさんの新聞にかくれてしまいました

新聞のに隠れた

新聞のに隠れてしまった

広げている新聞紙のに隠れてしまいました

男Aの広げた新聞紙と胸の間に入り込んで顔を隠した

2. "สบตา"

目線が合う

目が合う

3. อื่นๆ ที่น่าสนใจ

อธิบายลุงนักท่องเที่ยวที่ยืนอ่านแผนที่ 

--> その人は、カメラを首からぶらさげ、地図を片手にどうやら道を探していたようです

地図を詠めなかったのでちょうど目が合った男性なら好意的に教えてくれるだろうと判断し、近寄った

地図を持って立ちつくしている男性

柱を背にして地図を広げている

คำอื่นๆ ทั้งที่เคยได้ยิน และไม่เคยได้ยิน แต่ที่แน่ๆ เรายังใช้ไม่เป็น 5555
เลยได้โอกาสหาข้อมูลเพิ่มและจะจำไว้ค่ะ

たまたま外国人と目が合ってしまった

たまたま : 1. บางที  「春とはいえ―寒い日がある」
2. บังเอิญ 「―駅で旧友にあった」

คำนี้ได้ยินบ่อยมาก แต่ก็ละเลยมาตลอดเพราะส่วนใหญ่เข้าใจความหมายโดยรวมของประโยค
และรู้ความหมายของคำนี้ได้... แบบลางๆ 5555

ถ้าต่อไปใช้เป็น ก็คงมีภาษาญี่ปุ่นที่ธรรมชาติมากขึ้น TvT

ペエスケも例にもれずそんな日本人である

例に漏れず : เหมือนๆ กับสิ่งอื่น ไม่มีอะไรผิดคาด

とっさにぺエスケはある行動に出た

とっさに : อย่างรวดเร็ว/ทันที



สำหรับรูปที่สอง ก็ได้อ่านเวอร์ชั่นคนญี่ปุ่นเหมือนกันค่ะ... มีหลายคำที่ไม่เคยรู้มาก่อน จะจดไว้ตรงนี้นะคะ


1. คลาน (แบบเด็กน้อย) はいはいをする

2. ขี่หลัง 犬の上に乗る
犬の背に乗る
犬の背中に乗る
犬に乗る
犬にまたがる

3.อ้อมไปข้างหลัง

犬の後方へまわる
犬の尾っぽの方に回る
犬の背後に回り込む

4. เปลี่ยนทิศที่หันหน้า

犬が先ほどとは反対の方向を向いていた
さっきとは逆の方向をむいて横になった
犬は向きを変えてしまいます

จะว่าไป ทำไม 向く ถึงใช้ を กันนะ?

ว่าแล้วก็นึกถึงเพลงนี้ ... เมื่อก่อนชอบมาก และก็สงสัยมาตั้งนานว่าทำไมใช้ を แต่ไม่เคยหาคำตอบ 5555



งั้นวันนี้จะหาคำตอบแล้วค่ะ...

.
.
.



โอ้ มีคนสงสัยเหมือนเราด้วย 55555

คนตอบบอกว่า ที่ถูกคือ

南を向く(自動詞)กับ 南に向ける(他動詞)

南に向く ใช้ไม่ได้ค่ะ....

.....


แต่นี่ไม่ได้ตอบความสงสัยของเรา =O= คือ สงสัยว่า หันไปทางไหน มันคือบอกทิศทางแล้วทำไมไม่ใช่ に ล่ะะะ....

...

หาต่อ


เจอหนังสือเล่มนี้... (ทำไมชั้นต้องทำขนาดนี้ด้วยนะ T_T เริ่มปวดตา)


「てにをは」からやりなおす日本語レッスン



อ่านออนไลน์ได้ที่  https://books.google.co.th/books?id=IhMVAgAAQBAJ&printsec=frontcover&hl=th#v=onepage&q&f=false



หัวข้อนี้อยู่ที่หน้า 22 ค่ะ ผู้เขียนยกตัวอย่างประโยค 2 ประโยค ดังนี้

下を向いて話してはいけない✔

生活者を向いた政策がほしい✖ --> 生活者に向けた政策がほしい✔


ผู้เขียนอธิบายว่า (แปลตามสกิลคนปวดตา อาจจะไม่ถูก 100 เปอร์เซ็นต์นะ ฮือ)

1. 下を向く  向くไม่ใช่ 他動詞 แม้จะใช้ をก็ตาม เพราะ下นั้นไม่ใช่กรรมของประโยค ดังนั้น ถึงได้มีประโยคว่า 若者に向いた仕事 ใช้ に ได้เหมือนกัน ไม่ได้をเสมอไป

2.  แต่に向く กับ を向く นั้นไม่เหมือนกัน!!
下を向く จะอธิบายการเปลี่ยนแปลง จากสภาพที่เงยหน้า กลายเป็นก้มหน้า เหตุผลเดียวกัน ถ้าใช้ 生活者を向いた政策ล่ะก็ จะหมายความว่า แต่ก่อนไม่ได้สนใจ 生活者 แต่ตอนนี้สนใจแล้ว .. ซึ่งมันผิดความหมายไป ส่วน ถ้าใช้ 生活者に向いた ก็เหมือนจะได้ แต่มันจะแปลว่า 生活者にふさわしいไป... ดังนั้นเลยต้องเปลี่ยนเป็น 生活者に向けた

(จะว่าไป ...รู้สึกว่า に向く に向ける จะอยู่ในไวยากรณ์ N1 หรือ 2 เนี่ยแหละ... )



...


อ่อ คือว่าถ้าใช้ に向く มันจะแปลว่า เหมาะสมกับ ....  ดังนั้น ถ้าจะบอกว่าหันไปทางไหนต้องใช้ を

คงจะเป็นอย่างนั้นสินะ....

....

วันนี้พูดนอกเรื่องมาไกลมาก 555 แงแง 




ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะคะ

วันนี้ขอลาไปก่อน แล้วเจอกันใหม่ครั้งหน้าค่า ^__^ 




2560/03/05

การเขียนบทความแนะนำมหา'ลัยเป็นภาษาญี่ปุ่น


สวัสดีค่า กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ

โจทย์ของคาบเรียนครั้งนี้ คือการเขียนแนะนำสถาบัน ในรูปแบบที่สามารถเอาไปลงเว็บไซต์สถาบัน 
ให้คนต่างชาติ (ซึ่งก็คือชาวญี่ปุ่น) เข้ามาอ่านได้ค่ะ

....

หืมมมมมม

.....

OTL ยาก 555555


แต่ก่อนจะเริ่มสาธยายว่ายากยังไง เรามาดูตัวบทภาษาไทย และญี่ปุ่นก่อนเลยดีกว่าค่ะ




ของเรา เลือกแนะนำ "หอสมุดกลาง" ค่ะ



อันนี้คือ ร่างภาษาไทย



สำนักวิทยทรัพยากร หรือที่ทุกคนเรียกติดปากว่า หอสมุดกลาง ถือกำเนิดขึ้นพร้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันก็มีอายุถึงร้อยปีแล้ว แต่ก็ยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการวิจัยและการเรียนการสอน นอกจากจะมีหนังสือและวารสารครอบคลุมหลายสาขาวิชา ยังมีฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ที่ง่ายต่อการเข้าถึง ด้วยระบบค้นหาทางอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังมีบริการอำนวยความสะดวกให้แก่นิสิตและบุคลากร ทั้งบริการยืม-คืนโดยไม่ผ่านเคาท์เตอร์ บริการถ่ายเอกสารซึ่งมีอยู่เกือบทุกชั้น และ Learning Spaceเป็นสัดส่วน นั่งสบาย พร้อม Coffee Corner แม้ไม่ใช่บุคลากรจุฬา ก็สามารถเข้าใช้บริการได้


ประเด็นที่อยากสื่อสารคือ หอสมุดกลางนี้ "สะดวกอย่างไร" ค่ะ

ก็จะเขียนว่ามีบริการอะไรบ้างมาคร่าวๆ


ส่วนอันนี้คือภาษาญี่ปุ่นค่ะ (หลังจากให้อาจารย์แก้มาแล้ว 2 ครั้ง...)




チュラーロンコーン大学の総合図書館は、大学と同時に建設されました。現在は、100周年を迎えました。既に100歳を超えましたが、専門的人材を育てることを支援するために、
勢いよく発展しつつあります。

 総合図書館は、様々な分野の書籍や雑誌を提供する他、利用しやすい論文のデータベースや、いつでもどこでもアクセスできる本のオンライン検索エンジンがあります。その他、総合図書館は使用者の便宜を考え、次のサービスも提供しています。コピーサービスが1~2階、4~6階にあり、ラーニングスペースやカフェも運営しています。貸し借りサービスに関しては、受付を通さずに借りられるセルフ・チェックというサービスがあります。そして、返すときは、図書館まで行かなくても、大学内で設置されたボックスに入れることができます。いつも利用者の便利さを考えるチュラーロンコーン大学の総合図書館は、大学の職員ではない方でも利用可能です。




อันนี้ไม่ได้แปลมาเป๊ะๆ นะคะ เนื่องจากข้อจำกัดทางภาษา และความเหมาะสม ฮืออ

สำหรับของเรา เมื่อเทียบกับครั้งแรกแล้วไม่ได้แก้อะไรเท่าไหร่ค่ะ

มีแกรมม่า 提供しています

ตอนแรกเราเขียนเป็น 提供します ค่ะ

เพราะ.....

นี่จะสารภาพว่ามันเป็นเซนส์เด๋อๆ ของเราเอง 5555

คือเราคิดว่า

ณ ขณะที่เราโฆษณา และผู้รับสารกำลังอ่าน เค้ายังไม่ได้ใช้บริการเราซักหน่อย....
ถ้าเค้ามาเมื่อไหร่ เราถึงจะให้บริการเค้า

ดังนั้น... มันน่าจะเป็น します

....

(กริบ)

....

ถ้าใช้しています ก็คือเราให้บริการทุกคน ทุกวัน ตลอดๆ คุณมาเมื่อไหร่ก็ได้รับบริการทันที

แบบนี้รึเปล่านะ?




นอกจากนี้ อาจารย์ก็แนะนำมาว่า ถ้าจะเขียนให้อ่านง่าย
ก็น่าจะทำเป็น หัวข้อๆ เช่น

開館時間

月~金

全階:8.00-19.00
1~5階:19.00-21.00


全階:9.00-16.00
1~6階:16.00-18.00


1~5階:9.00-18.00


提供サービス

データベース:CU Reference Databases, EDS, CUIR

その他:コピーサービス(1~2、4~6階)、
ラーニングスペース
カフェ


借り貸しに関するサービス

セルフチェックについては→ちら

ในหัวข้อดาต้าเบส คิดว่าถ้าทำเป็นลิงค์แบบ คลิกปุ๊บไปที่หน้าเว็บนั้นได้เลยก็คงจะดีค่ะ
สำหรับบริการ Self Check ก็เช่นกัน


+++++++++++++++++++++++++++++++++


....

ต่อไปเป็น 感想

ยากง่ะ 5555

คิดว่ายากที่สุดตรงที่ต้องเขียนเป็นเชิงโฆษณานิดๆ

รู้สึกว่า ต้องใช้ภาษาหรูนิดนึง แบบ ให้อ่านแล้วเกิดอิมแพค (?) ซึ่งไม่สามารถ 555

ดีนะ ที่เราเลือกโฆษณาห้องสมุด ยังง่าย แต่โฆษณามหาลัย คณะนี่ท่าจะยากทีเดียว

เพราะห้องสมุดมันมีลักษณะเป็น Service คำศัพท์ที่ใช้ยังเคยเห็นมาบ้างในเว็บผู้ให้บริการต่างๆ

(แต่ก็ยังคิดไม่ค่อยออกอยู่ดี จริงๆ ศัพท์ทางบริการก็ยากจะตาย เคยใช้บริการบริษัทญี่ปุ่นเหมือนกันค่ะ 

ตอนนั้นเครือข่ายมือถือมั้ง แล้วเมลที่นางส่งมาก็แบบ โอ๊ย 5555 ชั้นต้องแคปส่งไปให้เพื่อนผู้มากประสบการณ์

แล้วถามว่า แกๆ นี่เค้าต้องการให้ชั้นทำอะไรอ่ะ T^T )

ป.ล. แต่หลังจากมีปัญหากับบริษัทนี้มาเป็นเวลาครึ่งปีกว่า เมลท้ายๆ ดิฉันเริ่มอ่านออกด้วยตัวเองแล้วค่ะ 555555


แต่พอเป็นแนะนำมหาลัย หรือคณะที่ต้องใส่ประวัติ หรือความโดดเด่นเชิญชวนให้คนมาเรียน

อันนี้ไม่เคยอ่านที่ไหนมาก่อนเลย

(ถึงเคยเข้าเว็บมหาลัยไหนก็จะคลิกมุมขวาบน ENGLISH ค่ะ 55555 ฮือฮือมันยากกก)

โปรดยกโทษให้หนูด้วย ;;____;;



เพิ่งได้มาอ่านจริงๆจังๆ ก็ในคาบนี่แหละค่ะ จดประโยคที่คิดว่าใช้ได้ (และอยากเก็บไว้ใช้) มาด้วยเยอะแยะเลย

ถ้ามีเวลาจะมาอัพต่อคราวหน้าค่ะ


วันนี้ขอลาไปก่อน

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนค่า ^__^