2560/01/31

แนะนำตัวให้อิมแพค 2 ll Comment จาก Lang-8

สวัสดีค่ะ เจอกันอีกแล้วนะคะ

วันนี้ก็ยังอยู่ที่การแนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์เพิ่มทริคในการแนะนำตัวให้เป็นที่จดจำมาดังนี้

1. พูดชื่อตัวเอง ช้าๆ ชัดๆ (หาประเด็นให้ยกชื่อตัวเองขึ้นมาพูด)บ่อยๆ เพราะคนต่างชาติอย่างเราชื่อไม่คุ้นหูเขาค่ะ
อาจจะบอกความหมายชื่อ / เหตุผลที่พ่อแม่ตั้งชื่อนี้ให้ ฯลฯ เพื่อความน่าสนใจ

ว่าแล้วก็นึกถึงคนนี้....


にこにこにーあなたのハートににこにこにー
笑顔届ける矢澤にこにこ
にこにーって覚えてラブにこ

จ้ะ.....
ยอมแล้วจ้ะ

แต่ของจริงไม่ต้องขนาดนี้นะ 55555


2.สร้างคาแร็กเตอร์ให้ตัวเอง อย่างเช่น พูดถึงงานอดิเรกอย่างเดียว ยาวๆ เยอะๆ มีคีย์เวิร์ดเดิมๆออกมาบ่อย เช่น พูดถึง まんがก็まんがไปเลย 4-5 รอบ 




หลังจากนั้น ก็ลองคิดบทแนะนำตัวเองใหม่อีกครั้ง โดยเอาไปลงในเว็บไซต์ lang-8 
รอให้คนญี่ปุ่นใจบุญเข้ามาแก้ภาษาให้เรา อิอิ

รอบแรก มีมาแก้ให้ตั้งสองคนแน่ะ 


タイトル:アイスキャンディー好きなミントと申します。

初めまして。ミントと申します。英語のM-I-N-Tのミントです。ミントという言葉は、みんなを幸せにする甘いアイスキャンディーのイメージがありますよね。ですから、母は社交的で明るい子になってほしくてミントにしたそうです。お母さん、シャイな人になってしまってごめんなさい。趣味は絵を描くことです。日本の漫画、アニメも好きでそれを見て絵を練習しています。もし興味のある人がいればぜひ声をかけてください。よろしくお願いします。

ครั้งนี้พยายาม (หาเรื่อง) พูดชื่อตัวเองบ่อยเท่าที่จะบ่อยได้..
คือ แม่ตั้งชื่อนี้ให้ด้วยเหตุผลนี้จริงๆนะ55555
แม้พอมาเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นแล้วจะดูไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่ก็เถอะ...

ทีนี้ มีคนญี่ปุ่นมาคอมเม้นให้ 2 คนค่ะ 

คนแรกบอก perfect ทุกประโยค (รักก มานี่เดี๋ยวให้ 20 บาท)

คนที่ 2 แก้หน่อยนึง ตามนี้ค่ะ

ですから、母は社交的で明るい子になってほしくてミントにしたそうです。

--> ですから、母は社交的で明るい子になってほしくてミントと名付けたそうです。


お母さん、シャイな人になってしまってごめんなさい。
-->お母さん、シャイな人に成長してしまってごめんなさい。


จุดแรกที่ถูกแก้ ตอนเขียนร่างก็คิดอยู่ว่า... หรือจะใช้名付けるดีนะ...
แต่มันยาว แถมอยากรู้ด้วยอ่ะ ว่าใช้ にする ได้มั้ย (ไม่เคยใช้เลย) เลยเขียนไปค่ะ

สรุปว่าได้ เพราะคนแรกบอกว่าได้ 555 แต่ 名付けるน่าจะเป็นธรรมชาติกว่า และความหมายชัดกว่า
にする มันเหมือน มีหลายๆชื่อให้เลือก ส้ม ต่าย แมว นิด แล้วแม่เลือกมิ้นท์ปะ 55555

นั่นสินะ จะว่าไป ถ้าเราไม่ชื่อมิ้นท์แล้วจะชื่ออะไร 555 ขอโหลน้อยกว่านี้ได้มั้ยแม่ เรียกมิ้นท์ทีหัน 10 คนก็ไม่ไหวป่ะ555




ต่อไปจุดที่สอง แก้なるเป็น成長 เพราะอย่างหลังมันให้ความหมายที่ชัดเจนกว่า ว่าพอโตแล้วเป็นแบบนี้

ตอนเขียนร่าง ก็คิดเหมือนกันค่ะว่าจะใช้ 成長แต่ไม่มั่นใจว่าใช้ในบริบทนี้ได้มั้ย

ดีใจมากๆที่เค้าแก้มาให้ 555 ตอบคำถามในใจสุดๆ



นอกจากกระทู้นี้ ก็มีแนะนำตัวอีกอันหนึ่ง ที่ใช้ข้อดี-ข้อเสีย หรือ episode เด่นๆในชีวิตมาพูด เพื่อสร้างสเน่ห์ให้ตัวเองค่ะ เราลองโพสต์ไปทั้งสองอันเลย 

อันหลังนี้โดนแก้เยอะค่ะ
...เพราะมันยากกว่าอันบน 5555


タイトル:教えることは逆に学ぶことにもなる、そう思いませんか。


3ヶ月の間、私は教えていた後輩から色々と学びました。確かに、教える方は知識を持っていますが、学生からの質問はいつもそれ以上のことを考えさせます。そして、自分の都合だけを考えないで学生の求めていることに応じた結果、学生が前よりうまくできたことも、学生への配慮の大切さを教えてくれました。世界には偉い人が他人のことを考えないで左右する方が便利だと思っている人がいるかもしれませんが、私はお互いを学んで、一緒に歩く方が成果が実ると思います。

ความจริงแล้ว นี่เป็น episode สำคัญในชีวิตที่ดิฉันใช้หากินในทุกๆวิชา ทั้ง Writing / Conver และวิชานี้ค่ะ 555

แต่เป็นความทรงจำที่ดีมากจริงๆนะ คิดถึงแล้วก็ยังมีความสุขจนทุกวันนี้


+++

โอเคค่ะ ครั้งนี้ก็มีชาวญี่ปุ่นใจดีมาช่วยแก้ให้ 2 คนอีกเช่นเคย ทั้งคู่แก้ประโยคเดียวกันเลยค่ะ แต่คำที่แก้มาให้ไม่เหมือนกัน ตามนี้

世界には偉い人が他人のことを考えないで左右する方が便利だと思っている人がいるかもしれませんが、私はお互いを学んで、一緒に歩く方が成果が実ると思います。

--> 1. 世界には偉い人が他人のことを考えないで指導する方が便利だと思っている人がいるかもしれませんが、私はお互い学んで、一緒に歩く方が成果が実ると思います。

--> 2. 世界には偉い人が他人のことを考えないで操作する方が便利だと思っている人がいるかもしれませんが、私はお互いを学んで、一緒に歩く方が成果が実ると思います。


อืมมม... แล้ว指導กับ操作ใช้อันไหนดีง่ะ

ลองไปเปิด Dict ดูได้ความหมายดังนี้ค่ะ

指導 : (スル)ある目的・方向に向かって教え導くこと。
操作 : 自分の都合のよいように手を加えること。

อืมมม งั้นเอา 操作มั้ย น่าจะเป็นความหมายที่อยากได้ คือควบคุมคนอื่นเอาตามใจตัวเองค่ะ


จุดที่สองที่โดนแก้คือ お互いに กับお互いを ตรงนี้เราไม่เข้าใจจริงๆ ว่าสองแบบต่างกันอย่างไร (เคยได้ยินทั้งสองแบบค่ะ) และอันไหนดีกว่า เลยถามเขาต่อไปค่ะ


ได้ความว่า ถ้าใช้ お互いを จะต้องใช้เป็น お互いのことを学ぶ ค่ะ หมายถึงเราเรียนรู้ "เรื่องของอีกฝ่าย" เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
เช่น (เค้ายกตัวอย่างประโยคด้วย ฮือ ใจดีจัง) タイ人と日本人がお互いのことを学ぶ จะแปลว่า คนไทยก็เรียนรู้เรื่องราวคนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นก็เรียนรู้เรื่องของคนไทยค่ะ

แต่ถ้าเป็น お互いに学ぶ จะหมายถึง เรียนรู้ไปพร้อมกัน แต่คนละเรื่อง 555
เช่น คนนึงเรียนความรู้พยาบาล อีกคนเรียนความสำคัญของการใส่ใจนักเรียน ไรงี้
ไม่ได้แปลว่าเรียนรู้ซึ่งกันและกันค่ะ


....

#บรรลุโสดาบัน

....

ต้องขอบคุณคุณคนญี่ปุ่นที่มาแก้ให้จริงๆ ค่ะ และดีใจที่ตัวเองถามไป 
หลายครั้ง เขาแก้มาอย่างไร เราก็ใช้อย่างนั้น เพราะคิดว่าแค่ถูกก็พอแล้ว
หรือไม่ก็ทำความเข้าใจในแบบตัวเอง (ซึ่งมันก็ไม่ถูกเสมอไป)
ครั้งนี้ เรื่องお互いに お互いを ก็เกือบจะไม่ถามแล้วเพราะชะล่าใจ 555
คิดว่าตัวเองเห็นบ่อย น่าจะเข้าใจถูกแหละน่า

ปรากฏว่า..... เข้าใจผิด 55555

ก็เลยได้รู้ความเป็นจริงเลย TvT ขอบคุณมากนะคะ

วันนี้ก็ขอลาไปก่อน พบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ บ๊ายบายย



2560/01/15

魅力的な自己紹介 แนะนำตัวอย่างไรให้มีอิมแพค !?



สวัสดีค่ะทุกคน นี่เป็นบล็อกที่เราสร้างขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา
APP JP LING
(ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นประยุกต์...?)

คอยเขียนบันทึกกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในคลาส และกลับมา内省หรือคิดวิเคราะห์ว่าเรา
ควรจะปรับปรุงตัวยังไงต่อไป และที่เราทำไปดีรึยัง

สรุปคือ
บล็อกนี้เป็นที่ที่เราจะพัฒนาภาษาญี่ปุ่นไปด้วยกันค่ะ เย่!



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


โอเคเรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ^^

สัปดาห์ที่ผ่านมาเราจับกลุ่ม และฝึกแนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ โดยมีหัวข้อที่ต้องใส่ลงไป ดังนี้...


1. あいさつ คำทักทาย
2.名前 ชื่อตัวเอง
3.専門領域 สิ่งที่เชี่ยวชาญหรือกำลังศึกษาอยู่
4.ストレス解消に行うことวิธีคลายเครียดของตัวเอง



โดยจำกัดเวลาที่ 30วิ ถึง 1 นาทีค่ะ

อันนี้ของเรา ที่พูดสดหลังได้รับคำสั่ง


はじめまして。パリダーと申します。ニックネームはミントです。
ミントで呼んでください。
日本語の文法について研究しています。特にタイ人の学習者にとって
難しいものや間違えやすいものです。
ストレスとがたまったとき、寝ます。
よろしくお願いします。

ประโยคก่อนสุดท้ายคืออะไรอะ เด๋อจัง 55555555

หลังจากเพื่อนๆในกลุ่มแนะนำตัวครบ 5 คน ก็มาคุยกันว่าพวกเราจำของใครได้มากที่สุด
และเพราะอะไร

หลังจากนั้นก็ดูตัวอย่างการแนะนำตัวของคนญี่ปุ่น และมาคิดกันว่า
ปัจจัยที่ทำให้การแนะนำตัวของเราเป็นที่จดจำคืออะไร...



ปัจจัยที่ทำให้จำของคนอื่นได้

1.ให้ความสำคัญกับการ "อธิบาย"
เช่น ส่วนงานที่เชี่ยวชาญของตัวเอง ถ้าให้รายละเอียด (และพูดให้เข้าใจง่ายเหมาะกับคนที่อยู่ต่างสายกะเรา) คนก็จะจำได้มากขึ้น
หรือพวกกิจกรรมคลายเครียด ถ้าให้เหตุผลหน่อยว่าทำไมทำแบบนั้น ก็จะจดจำง่าย

2.ให้ความสำคัญกับคำพูดของคนก่อนหน้า
เช่น ถ้าคนที่แนะนำตัวก่อนเราพูดถึงกิจกรรมแบบนี้ไปแล้ว เราก็เสริมว่า ของเราก็เหมือน.... เลย การอ้างอิงจะทำให้ทุกคนจำเราง่ายขึ้น และยังแสดงให้เห็นด้วยว่าเราสนใจฟังคนอื่นนะ

3.พูดชัดๆ
โดยเฉพาะชื่อ เพราะชื่อคนไทยฟังยากสำหรับคนญี่ปุ่น ถ้ามีอะไรอ้างอิงได้ เช่น มาจากภาษาอังกฤษ..... หรือ ชื่อเราแปลว่า...... ก็จะช่วยได้เยอะค่ะ



โดยรวมแล้วก็คือเราต้อง "ใส่ใจคนฟัง" นั่นเองค่ะ!!



+++++++

ต่อไปนี้เป็นความรู้สึกของเราต่อการแนะนำตัว
และปัญหาที่เราพบตั้งแต่เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นครั้งเยาว์วัย
เหตุใดเรียนญี่ปุ่น 6 ปีแล้วยังแนะนำตัวสไตล์初級

+++++++

ในความเป็นจริง เรียนภาษาญี่ปุ่นมา 6 ปี การแนะนำตัวเป็นอะไรที่เจอบ่อยมาก
แต่ก็เกลียดมาก

ประหม่ามาก
ยิ่งกว่าจับฉลากหัวข้อแล้วให้ออกไปสปีชสด

เพราะมันคือการพรีเซ้นท์ตัวเองไงล่ะ
นอกจากจะต้องมั่นใจในสกิลภาษาแล้วยังต้องมั่นใจในตัวเองด้วย

แล้วไงล่ะ ปัญหาอยู่ตรงไหน??



---ในส่วนสกิลภาษา---

เราคิดว่าก่อนที่จะพูด หรือเขียนอะไรได้สมูธสวยงามราวNative สิ่งจำเป็นคือประสบการณ์
ยิ่งฟังยิ่งอ่านมากแค่ไหน ก็ยิ่งใช้ได้ดี มีสกิลการพลิกแพลงและคลังศัพท์ + ลดความประหม่า 

...
แล้วไอ้แนะนำตัวเนี่ย เราจะได้ฟังมัน อ่านมัน ที่ไหนเหรอ????
...
ละคร? นิยาย? เพลง? หนังสือพิมพ์? โน้วววว พอลองคิดดูดีๆแล้วเราแทบไม่ได้เห็นมันเลยนี่นา
จะมีก็นิดๆหน่อยๆในรายการวาไรตี้ ....ซึ่งใครจะไปสนใจ =___= (อย่างน้อยก็เรา 5555 มาถึงตั้งหน้าฟังมุขตลกกับจ้องหน้าดารา) 

มันเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในคอนเวอร์เซชั่นนับล้านของภาษาญี่ปุ่น

กว่าจะได้ input อีกทีก็....อาจารย์สั่ง เอ้าาา นิสิตแนะนำตัวจ้า จากนั้นมนุษย์ผู้โชคร้ายก่อนหน้าเรา 2-3 คนก็จะทยอยแนะนำตัว ส่วนเราที่ประหม่าสุดชีวิต ก็ฟังว่าเค้าใช้ประโยคอะไรบ้าง และดัดแปลงเข้ากับตัวเองภายใน 5 วิ

...ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก...

ซึ่งแน่นอนไม่เคยทำได้ถูกใจตัวเอง 55555555555 #เลข5มีน้ำตาซ่อนอยู่



---ในส่วนความมั่นใจ---

การแนะนำตัวต้องพูดชื่อช้าๆชัดๆ ต้องอ้างอิงคนก่อนหน้าเพื่อความน่าสนใจ และเฟรนด์ลี่ ถ้าเป็นไปได้ควรมีงานอดิเรกที่ดึงดูด...

นี่คือสิ่งที่ใครๆสอนเรามาตั้งแต่เริ่มเรียน และเราก็รับรู้ผลของมันได้จากการเฝ้าดูคนอื่นแนะนำตัว

คนที่แนะนำตัวอย่างมั่นใจ นอกจากจะดูเข้าหาง่ายยังดูเก่งด้วย สามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างอิสระ อยากพูดอะไรก็พูด

จะว่ายังไงดี เราว่าสกิลภาษากับความมั่นใจมันเกี่ยวเนื่องกัน (ถ้ามั่นหน้าด้วย +อีก 10 คะแนน)

แพทเทิร์น 1. เก่งภาษา -->  มั่นใจ --> เก่งภาษายิ่งขึ้นผ่านการใช้

หรือความจริงแล้วความมั่นใจจะมาก่อน??

แพทเทิร์น 2. มั่นใจ-->ถูกผิดช่างมันขอพูดก่อน-->เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเองและเก่งขึ้น

ซึ่งมันเป็นไปได้ทั้งสองทางแล้วแต่คน เพื่อนที่เป็น Extrovert มักทำได้ดีในสนามรบ自己紹介

ส่วนเราผู้ขี้อายก็อึนๆ กันต่อไป


แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ยังไงดีล่ะ??


เพราะ自己紹介คือการเป็นตัวของตัวเอง
เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเอง ถ้าเราเป็นIntrovert

แพทเทิร์น 1 และ 2 ข้างบนไม่มีอะไรดีกว่ากัน แต่แค่เราเป็น 1 เราเลยรู้สึกว่า 2 มันมีสเน่ห์ มันเท่
เพราะมันเป็นสิ่งที่เราไม่มีไง

(ณ จุดนี้รู้สึกภาษาไทยตัวเอง断定หนักมาก อยากใส่ คิดว่า.... เราว่า.... ไม่ใช่เหรอ... ลงไปตามความเคยชิน 5555 แต่เดี๋ยวยาว)

งั้นเราเดินตามแพทเทิร์น 1 สร้างความมั่นใจให้ตัวเองก่อนลงสนาม

1.จดจำคำพูดของเพื่อนๆในการแนะนำตัว (ไม่ใช่ฟังผ่านๆด้วยความประหม่าเหมือนทุกวันนี้555)
2.ถ้ามีโอกาสฟังของคนญี่ปุ่นก็ฟังอย่างตั้งใจ
3.ฝึกด้วยตนเองหน้ากระจก หรือกับหนูตะเภาที่บ้าน 
4.อย่ากดดันตัวเอง เราต้องอีซี่ๆ 

ประมาณนี้ที่คิดออกค่ะ....

แง บล็อกยาวเกินไป OTL

ใกล้จะจบแล้วค่ะๆ


ทิ้งท้ายไว้ด้วย自己紹介ฉบับ "แก้ไขอย่างใจเย็น" แล้ว

皆さん。初めまして、8です。ニックネームはミント、英語のM-I-N-Tのミントです。日本語の勉強を始めて6年になりました。これからも頑張って続けたいと思っています。
今は日本語の文法について研究しています。タイ人の学生たちにとってどんなものが難しいかを考え、彼らの勉強がもっと楽で楽しくなるように、研究を進めています。将来は日本語教師になりたいです。今のタイでは、日本文化に興味を持ったり、仕事のためだったり日本語を勉強している学生がとても多くて、彼らの勉強がスムーズに行けるようにサポートしていきたいと思っています。
趣味は絵を描くこととギターをひくことです。好きなアーティストはジョン・メイヤーというアメリカ人のギタリストです。日本の曲もよく聞いています。好きなのはAKB48Flowerです。もし興味のある人がいれば、ぜひ声をかけてください。
どうぞよろしくお願いします。

สิ่งที่เพิ่มมาคือ
1.ทำให้ชื่อเล่นตัวเองจดจำง่ายโดยการอ้างอิงภาษาอังกฤษ
2.อธิบายสิ่งที่ศึกษาอย่างง่าย เปลี่ยน学習者เป็น学生たち
เพราะคิดว่า น่าจะเฟรนด์ลี่กับคนฟังมากกว่าค่ะ
3.เพิ่ม趣味มาเพื่อความน่าสนใจ และเผื่อจะได้เจอคนสนใจคล้ายกัน


วันนี้ขอลาไปเท่านี้ก่อนค่ะ ขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่า <3