2560/03/16

[-描写-]บันทึกสิ่งที่ได้จากการฝึกบรรยายภาพเป็นภาษาญี่ปุ่น



สวัสดีค่ะ วันนี้กลับมาพบกันอีกแล้ว

ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า ไป Chula Expo กันรึยัง และไปห้องญี่ปุ่นมารึยังง

นิทรรศการทั้งส่วนหน้าและส่วนในทุกคนตั้งใจทำกันมากๆเลยนะ <3


อยากให้ได้ไปดู (และซื้อของหน้างาน) กันเยอะๆ 5555 



โฆษณาอย่างเปิดเผย 55555

อย่าลืมซื้อยากิโซบะและมัตฉะแสนอร่อยที่ใต้โถงมหาจักร

อร่อยจริงๆ ไม่ได้โม้นะะ นี่กินไปตั้ง 2 ถ้วย 55555 ก่อนถึงวันจริงมีการนัดไปซ้อมผัดกันด้วย

ทางเราอบรมเชฟอย่างจริงจังค่ะ 555




+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



เอาล่ะ... เข้าเรื่องกันดีกว่าค่ะ



กิจกรรมที่ทำในคาบครั้งนี้ คือให้จับคู่กับเพื่อน คนหนึ่งจะได้ดูการ์ตูน 4 ช่อง และบรรยายให้คนที่ไม่ได้ดูเข้าใจ
การ์ตูนที่ว่าคืออันนี้ค่ะ มี 2 อัน



รอบที่เราเป็นคนอธิบาย ได้รูปแรกค่ะ

ก็อธิบายมาได้แบบนี้ 555 (ถอดเสียงคลิป)


ある男の人があるホテルのロビーのソファに座っています。

彼のとなりに座っているのは、新聞を読んでいる人。

で、彼は暇だから......(เงียบนานมาก คือกำลังจะพูดว่า "เงยหน้าขึ้น" แต่คิดคำไม่ออก 55555)

前の方に見ました。

そこで、向こう側で地図を持っている観光客が、、、(พูดผิด) 観光客と目線が合いました。

で、その観光客がたぶん、道があまりわからないので、地図をもって彼の方に歩いてきた。

道を聞こうとしました。


 でも、その男の人は、たぶん知らない人と話したくないから、となりの新聞を読んでいる人にもっと近づいて、その新聞の後ろに自分を隠しました。


จะสังเกตได้ว่า มีบางจุดที่คิดคำไม่ออก และบางทีก็พูด ますบ้าง 普通体 บ้าง

คิดว่า สาเหตุเป็นดังนี้ค่ะ

1. ที่คิดคำไม่ออก เพราะปกติเวลาคุยภาษาญี่ปุ่น ส่วนมากจะพูดความรู้สึกตัวเองที่มีต่อเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ทั้งตัวเองและคู่สนทนารู้ดี ไม่ต้องอธิบาย เช่น เรื่องเรียน / ข่าวสาร

หรือไม่ ก็ตอบรับในสิ่งที่อีกฝ่ายพูดมา

โอกาสที่จะได้อธิบาย "ลักษณะ" "ท่าทาง" "การเคลื่อนไหว" ของอะไรบางอย่าง หรือใครบางคนนั้น น้อยมากๆ

(เราเป็นคนไม่ค่อยพูดด้วยแหละ...)



2. ที่พูด 丁寧体 普通体 สลับไปมา เพราะ.... ไม่รู้ว่าควรใช้อะไรดี

เป็นเหตุผลง่ายๆเลย 55555 แต่มักจะเกิดขึ้นเสมอๆ 
เพราะอีกฝ่ายเป็นเพื่อน แต่เรื่องที่คุยไม่ใช่บทสนทนานั่นเอง

กล่าวคือ ไม่รู้จะให้ความสำคัญกับ 相手 หรือเนื้อเรื่องดี

ถ้าเล่าให้เหมือนนิทาน ใช้ ます จะฟังดูเป็นนิทาน เรื่องเล่ากว่าหรือเปล่า? อันนี้เราคิดเองนะ

เคยฟังนิทานภาษาญี่ปุ่นมาบ้างนิดหน่อย เค้าก็ใช้ ます เล่า....



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


หลังจากนั้น อาจารย์ก็แจกวิธีบรรยายการ์ตูนข้างบน เวอร์ชั่นคนญี่ปุ่นพูดเอง ทำให้เรารู้ปัญหาของตัวเองมากขึ้น ไม่ใช่แค่การคิดคำไม่ออก แต่เราทำได้แค่ ทำให้คนฟัง "รู้" ว่าเกิดอะไรขึ้น (説明) แต่ไม่ได้ "เห็นภาพ" (描写)


เช่น เราพูดแค่ ชายคนหนึ่งนั่งอยู่ / ข้างๆ มีคนอ่านหนังสือพิมพ์ / ลุงนักท่องเที่ยวเข้ามาใกล้ ในขณะที่คนญี่ปุ่นจะเพิ่มคำต่างๆ ลงไป ให้เรื่องราวมีชีวิตชีวา มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น

อย่างเช่น

1. ใส่คำพูด หรือความรู้สึกของตัวละคร

「あっやばい!」と思った瞬間、その人が近づいてきました。
「しまった!」という表情の男B

2. การใช้ てしまう/てきる/ていく ทำให้เรื่องราวชัดเจนขึ้น

外国人は、子供に近づいてきた

3. คำบรรยายอื่นๆ ที่มีแล้วรู้สึกว่าเห็นภาพชัดเจนขึ้น / บรรยายสถานการณ์ของตัวละครได้ชัดเจน

二コマ目では、その外国人と一コマ目で暇そうにしていたビジネスマンらしい日本人と目が合った

外国語がさっぱりわからない彼は慌てふためき

愛想笑いをしながら男B に近づく

男Bは動揺のあまり、突拍子もない行動に

突然そのおじさんはにっこり笑い、何か頼みごとをしたそうな表情でぺエスケに歩み寄って来た。




นอกจากนี้ ยังมีหลายคำที่เราสนใจเลยจดไว้ และคิดว่าจะใช้ประโยชน์ต่อไปได้  จะยกตัวอย่างมาข้างล่างนี้ค่ะ



1. "แอบหลังหนังสือพิมพ์" เวอร์ชั่นต่างๆ

隣のおじさんの新聞にかくれてしまいました

新聞のに隠れた

新聞のに隠れてしまった

広げている新聞紙のに隠れてしまいました

男Aの広げた新聞紙と胸の間に入り込んで顔を隠した

2. "สบตา"

目線が合う

目が合う

3. อื่นๆ ที่น่าสนใจ

อธิบายลุงนักท่องเที่ยวที่ยืนอ่านแผนที่ 

--> その人は、カメラを首からぶらさげ、地図を片手にどうやら道を探していたようです

地図を詠めなかったのでちょうど目が合った男性なら好意的に教えてくれるだろうと判断し、近寄った

地図を持って立ちつくしている男性

柱を背にして地図を広げている

คำอื่นๆ ทั้งที่เคยได้ยิน และไม่เคยได้ยิน แต่ที่แน่ๆ เรายังใช้ไม่เป็น 5555
เลยได้โอกาสหาข้อมูลเพิ่มและจะจำไว้ค่ะ

たまたま外国人と目が合ってしまった

たまたま : 1. บางที  「春とはいえ―寒い日がある」
2. บังเอิญ 「―駅で旧友にあった」

คำนี้ได้ยินบ่อยมาก แต่ก็ละเลยมาตลอดเพราะส่วนใหญ่เข้าใจความหมายโดยรวมของประโยค
และรู้ความหมายของคำนี้ได้... แบบลางๆ 5555

ถ้าต่อไปใช้เป็น ก็คงมีภาษาญี่ปุ่นที่ธรรมชาติมากขึ้น TvT

ペエスケも例にもれずそんな日本人である

例に漏れず : เหมือนๆ กับสิ่งอื่น ไม่มีอะไรผิดคาด

とっさにぺエスケはある行動に出た

とっさに : อย่างรวดเร็ว/ทันที



สำหรับรูปที่สอง ก็ได้อ่านเวอร์ชั่นคนญี่ปุ่นเหมือนกันค่ะ... มีหลายคำที่ไม่เคยรู้มาก่อน จะจดไว้ตรงนี้นะคะ


1. คลาน (แบบเด็กน้อย) はいはいをする

2. ขี่หลัง 犬の上に乗る
犬の背に乗る
犬の背中に乗る
犬に乗る
犬にまたがる

3.อ้อมไปข้างหลัง

犬の後方へまわる
犬の尾っぽの方に回る
犬の背後に回り込む

4. เปลี่ยนทิศที่หันหน้า

犬が先ほどとは反対の方向を向いていた
さっきとは逆の方向をむいて横になった
犬は向きを変えてしまいます

จะว่าไป ทำไม 向く ถึงใช้ を กันนะ?

ว่าแล้วก็นึกถึงเพลงนี้ ... เมื่อก่อนชอบมาก และก็สงสัยมาตั้งนานว่าทำไมใช้ を แต่ไม่เคยหาคำตอบ 5555



งั้นวันนี้จะหาคำตอบแล้วค่ะ...

.
.
.



โอ้ มีคนสงสัยเหมือนเราด้วย 55555

คนตอบบอกว่า ที่ถูกคือ

南を向く(自動詞)กับ 南に向ける(他動詞)

南に向く ใช้ไม่ได้ค่ะ....

.....


แต่นี่ไม่ได้ตอบความสงสัยของเรา =O= คือ สงสัยว่า หันไปทางไหน มันคือบอกทิศทางแล้วทำไมไม่ใช่ に ล่ะะะ....

...

หาต่อ


เจอหนังสือเล่มนี้... (ทำไมชั้นต้องทำขนาดนี้ด้วยนะ T_T เริ่มปวดตา)


「てにをは」からやりなおす日本語レッスン



อ่านออนไลน์ได้ที่  https://books.google.co.th/books?id=IhMVAgAAQBAJ&printsec=frontcover&hl=th#v=onepage&q&f=false



หัวข้อนี้อยู่ที่หน้า 22 ค่ะ ผู้เขียนยกตัวอย่างประโยค 2 ประโยค ดังนี้

下を向いて話してはいけない✔

生活者を向いた政策がほしい✖ --> 生活者に向けた政策がほしい✔


ผู้เขียนอธิบายว่า (แปลตามสกิลคนปวดตา อาจจะไม่ถูก 100 เปอร์เซ็นต์นะ ฮือ)

1. 下を向く  向くไม่ใช่ 他動詞 แม้จะใช้ をก็ตาม เพราะ下นั้นไม่ใช่กรรมของประโยค ดังนั้น ถึงได้มีประโยคว่า 若者に向いた仕事 ใช้ に ได้เหมือนกัน ไม่ได้をเสมอไป

2.  แต่に向く กับ を向く นั้นไม่เหมือนกัน!!
下を向く จะอธิบายการเปลี่ยนแปลง จากสภาพที่เงยหน้า กลายเป็นก้มหน้า เหตุผลเดียวกัน ถ้าใช้ 生活者を向いた政策ล่ะก็ จะหมายความว่า แต่ก่อนไม่ได้สนใจ 生活者 แต่ตอนนี้สนใจแล้ว .. ซึ่งมันผิดความหมายไป ส่วน ถ้าใช้ 生活者に向いた ก็เหมือนจะได้ แต่มันจะแปลว่า 生活者にふさわしいไป... ดังนั้นเลยต้องเปลี่ยนเป็น 生活者に向けた

(จะว่าไป ...รู้สึกว่า に向く に向ける จะอยู่ในไวยากรณ์ N1 หรือ 2 เนี่ยแหละ... )



...


อ่อ คือว่าถ้าใช้ に向く มันจะแปลว่า เหมาะสมกับ ....  ดังนั้น ถ้าจะบอกว่าหันไปทางไหนต้องใช้ を

คงจะเป็นอย่างนั้นสินะ....

....

วันนี้พูดนอกเรื่องมาไกลมาก 555 แงแง 




ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะคะ

วันนี้ขอลาไปก่อน แล้วเจอกันใหม่ครั้งหน้าค่า ^__^ 




6 ความคิดเห็น:

  1. สรุปได้ดีมาก แถมยังไปหาเรื่องคำช่วยต่อด้วย ยอดเยี่ยมค่ะ

    ตอบลบ
  2. สรุปเรื่อง を向く/に向く/に向ける ได้เข้าใจง่ายมาก จริง ๆ ก็เป็นคนที่มีปัญหากับการใช้คันจิตัวนี้เหมือนกัน ยังมี 向かう 向こう อีก ต้องพยายามไปเปิดหนังสือ เปิดพจนานุกรม ดูตัวอย่างประโยคควบคู่กันไป

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับคอมเม้นค่า จริงๆ หนูก็ใช้ไม่ค่อยเป็นเหมือนกัน 55 ดีที่มีบทเรียนอันนี้ขึ้นมาเลยได้ลองหาดูค่ะ

      ลบ
  3. わからないことを、わからないままで終わらせない。すばらしい姿勢ですね。こんな風に自分で問題を解決していく力があれば、これからもどんどん日本語が上達していくと思います。
    こんな努力を重ねていけば、とっさのときにも、思い出せない!思いつかない!ということもいつかはなくなり、言いたいことが日本語でそのまま表現できるようになりますよ。

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. コメントありがとうございます!
      これからも頑張ります。

      ลบ