2560/04/23

[-あいづち-] ตอนนี้พูดได้มากขึ้นแล้วนะ

สวัสดีค่ะ หลังจากรอบที่แล้วสรุปการใช้ あいづちจากรายการวิทยุ Nichiten ไป ตอนนี้ได้ลองพูดจริงในคาบแล้วค่ะ

ก่อนอื่นจะขอพูดถึงครั้งแรกสุด ก่อนฟังวิทยุค่ะ

ในคลิปเสียงที่อัดมา.... ดูเหมือนว่า.... เราจะไม่พูด あいづちเลย OTL
อันที่จริงไม่ค่อยได้ยินด้วยค่ะ (แก้ตัว) เพราะตอนนั้นนั่งแบบมีโต๊ะคั่น แล้ววางมือถือไว้ตรงกลาง
แต่เท่าที่จำได้ ส่วนใหญ่เราจะพยักหน้าค่ะ อย่างมากก็อืมๆ
จำความรู้สึกตอนนั้นไม่ค่อยได้ แต่เหมือนเรื่องมันจะเข้าใจยากด้วย (เด็กทารกกับน้องหมา) ตอนฟังเลยมัวแต่ลุ้นว่า เรื่องจะออกมาเป็นไงกันนะ

สรุปก็คือ รอบแรกล้มเหลวค่ะ 55 T___T

รอบที่ 2 หลังฟังรายการ Nichiten

เพื่อนเป็นคนเล่าเรื่อง เราเป็นคนあいづちนะคะ

二つの写真があって、上の、なんか、最初の写真はある人が窓の隣に立って、多分、空港で、<うん>、空港の大きい窓があるでしょ。なんか、<飛行機が…?>なんか空とか飛行機とか見える<ああ、分る>そう、そこに立って飛行機を見て<うん>手を振って<うん>多分、だれかを見おく…<ああ>見送っていたかも。で、そして、次の写真は、テレビニュースに、な<うん>んか、その、たぶんその飛行機が<うん>事故で海に沈んで<へー>いっちゃった。<怖い>で、その女の人泣いていた。<ふーん>おわり。

จากรอบนี้ รู้สึกว่าตัวเองใช้ あいづちมากขึ้น ไม่ใช่แค่ うん อย่างเดียวแต่จะพยายามแสดงอารมณ์ เพื่อไหลตามเรื่องที่เพื่อนพูดค่ะ เช่น 分る、怖い、へー 

แล้วก็มีตรง 飛行機が?บรรทัดที่สอง คือตอนนั้นพอจะรู้แล้วว่าหน้าต่างที่เพื่อนพูดถึงคืออะไร ก็เลยจะถามว่า อันที่เห็นเครื่องบินใช่มั้ย แต่พูดไม่จบค่ะ

ข้อบกพร่องอย่างหนึ่งที่รู้สึกตอนกำลังพูด และพอมาฟังก็คิดอีกคือ...

เรารู้แล้ว จากการฟังรายการ Nichiten ใช่ไหมคะ ว่าต้องรอให้อีกฝ่ายจบประโยค จบวลี  หลังคำช่วย หรือในจุดที่เค้าพักนิดหนึ่ง หรือตอนเค้าขอความเห็น

ดูจากตัวหนังสือที่ถอดมาอาจไม่ชัดเท่าไหร่

แต่ตอนฟังรู้สึกว่า เราพูดซ้อนกับเพื่อนเยอะมาก 5555 แบบ เค้ายังไม่ทันจะจบดี นี่ชิงพูดแล้ว หรือไม่ก็ดีเลย์ คือเค้าโผล่ขึ้นประโยคใหม่มา 1 พยางค์ นี่เพิ่งจะあいづち อะไรประมาณนั้นค่ะ orz

อันที่จริง ตอนพูดก็ระวังตลอดเวลาว่าเราจะ あいづち ได้ตอนไหนบ้าง... แต่ดูเหมือนจะเกร็งเกินไปค่ะ (.___.)

สรุปว่า เราก็ยังมือใหม่กับ あいづち อยู่ดีค่ะ ฮือๆ T_T

แต่อย่างน้อย กลายเป็นว่า การพยายาม あいづち ครั้งนี้ เรารู้สึกอินกับเรื่องที่เพื่อนเล่ามากกว่าเดิมค่ะ!

อันนี้เป็นเรื่องอัศจรรย์ใจมาก 5555 คือปกติ เวลาฟังจะนั่งเงียบๆค่ะ พยักหน้าอย่างเดียว
ซึ่ง... เราก็ว่าเราตั้งใจฟังเพื่อนนะ รู้อยู่ตลอดว่าเพื่อนกำลังเล่าถึงอะไรอยู่

แต่บางทีก็ไม่อิน (โดยเฉพาะภาษาญี่ปุ่น) คือเหมือนเราฟังเขาฝ่ายเดียว ไม่มีส่วนร่วม ถึงเข้าใจแต่มันก็ไม่สนุก (เขาก็คงไม่สนุก)อ่ะค่ะ

ก่อนหน้านี้ ก็คิดว่า เอ้อ เราคงเป็นพวกเฉื่อยชาเอง ;___; ไอ้การที่ 盛り上がらない นี่ คงจะเป็นนิสัยที่แก้ไม่หาย คงจะเป็นโชคร้ายของคนที่มาคุยกับเรา 555

แต่...มันไม่ใช่แฮะ

พอครั้งนี้เราตั้งใจ あいづち อย่างจริงจัง กลายเป็นว่า เราก็อินกับเนื้อหาที่เพื่อนพูดไปด้วยได้

เหมือน... ไม่ได้ใช้หูฟัง สมองเข้าใจอย่างเดียว แต่ใช้ความรู้สึกด้วย แล้วยิ่งเราส่งออกไป เค้าตอบกลับมา มันก็ทำให้บทสนทนามีชีวิตชีวาขึ้นได้...

ต่อจากนี้จะต้องไม่ลืม あいづちแล้วล่ะ !

+++

สุดท้ายนี้ ก่อนจะจบบล็อกวันนี้ ขอแนะนำรายการๆ หนึ่งค่ะ

NMBとまなぶくん





เป็นรายการที่ให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาให้ความรู้ โดยมีสาวๆวง NMB48 นั่งฟังค่ะ
555
(NMB48 หรือนัมบะ 48 เป็นวงน้องสาวของ AKB48 จากโอซาก้าค่ะ)
ป.ล.พยายามจะไปดูหลายรอบแล้วแต่ 落選ตลอดเวลา 5555 เศร้าา


สนุกดี เรื่องวันนี้เกี่ยวกับน้องหมาค่ะ 犬の秘密を徹底解明!มีทั้งประวัติ / ข้อมูลสุนัขพันธุ์ต่างๆ ที่ฮิตในแต่ละช่วง (ดูเหมือนยิ่งปีผ่านไป คนยิ่งนิยมเลี้ยงหมาตัวเล็กๆเนอะ เพราะอะไรไปดูกันนะคะ 55) และเกร็ดต่างๆเกี่ยวกับน้องหมา น่ารักมากก 555


สำหรับ あいづち...

คือในรายการก็จะมีทั้งช่วงคุยเล่น และช่วงที่วิทยากรพูดค่ะ
รู้สึกว่า ช่วงคุยเล่นจะมี あいづちมากกว่า ใส่อารมณ์มากกว่า และพิธีกรผู้ชายนี่ก็แทรกบ่อยมาก คือบางทีคนอื่นเค้ายังพูดไม่จบนี่ก็พูดซ้อนไปแล้ว 55 เสียงดังอีกต่างหาก โดยเฉพาะช่วงเปิดรายการ ยังไม่เข้าโหมดวิชาการ (แต่ไม่ใช่ไม่ดีนะคะ ทำให้รายการมีสีสันดีค่ะ)

เหมือนเคยอ่านที่ไหน.... (หรือในคาบ App Jpกันนะ? หรือคาบ Intro Jp Ling?)
ว่าผู้ชายจะพยายาม 支配 การสนทนามากกว่าผู้หญิง
มันคือแบบนี้รึเปล่านะ?

แต่ตอนที่น้องๆ NMB ตอบคำถาม เค้าก็จะตั้งใจฟังนะคะ ไม่ค่อยพูดแทรกมาก คล้ายกับตอนวิทยากรอธิบาย ก็จะ あいづちแค่เวลาอีกฝ่ายปล่อยช่องค่ะ
และ あいづち ที่ใช้กับวิทยากรก็จะเป็น はい แสดงความสุภาพค่ะ


ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกนะคะ ^^






6 ความคิดเห็น:

  1. สู้ๆนะพี่มิ้น ผมก็เป็น ฟังเรื่องจนสมาธิจดจ่อกับเรื่องที่เพื่อนเล่าจนลืมพูด 相槌 เหมือนกัน
    ตรงส่วนที่พี่บอกว่าอาจเป็นการ 支配 ดูน่าสนใจดี ถ้าดูจากที่เขาเป็นพิธีกร(คนทำหน้าที่หลัก)ของรายการ ผมเคยดูพวกคล้ายๆแนวเดียวกัน มีพิธีกรที่พูดเสียงดังและใช้相槌เยอะมากๆอยู่คนนึง อาจจะเพราะเขาต้องการ 支配 ก็เป็นได้ *-*

    ตอบลบ
  2. "ส่วนใหญ่จะพยักหน้า อย่างมากก็อืมๆ" นั่นมันเรานี่นา5555 แบบเดียวกันเลย แต่ของเรามีหัวเราะ(เส้นตื้น)
    เราก็รู้สึกนะ รอบหลังพอพยายามใช้มากขึน ก็เหมือนจะอินกับเรื่องที่เพื่อนเล่ามากกว่าเดิม นี่สินะพลังของあいづち
    เรื่องタイミングเราก็ยังมีปัญหาอยู่เหมือนกัน อันนี้น่าจะต้องพึ่งชม.บิน สังเกตเจ้าของภาษา ฝึกซ้อมเยอะๆ

    ตอบลบ
  3. อืมม เรารู้สึกว่าคนญี่ปุ่นมีเซนส์เรื่องไทม์มิ่งดีมากๆ ทำให้เรื่องไหลลื่นและก็น่าสนใจมากขึ้นด้วย

    ตอบลบ
  4. อย่างที่พี่มิ้นท์พูดเลย พอตั้งใจจะあいづちแล้วมันจะเกร็งๆ ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเนอะ ต้องฝึกกันต่อไป555
    ปล.NMBとまなぶくんสนุกดีเนอะ มีสาระด้วย555 เคย発表หน้าห้องคาบแจปคอนไปเทอมที่แล้ว เหมือนอาจารย์เขาก็เคยดูรายการนี้ด้วยแหละ ไปชวนคุยได้5555

    ตอบลบ
  5. พอไม่ค่อยได้พูดあいづちก็เกร็งๆเนอะคะ 5555 ปกติก็ชอบแค่พยักหน้าเฉยๆเหมือนกัน
    ชอบตรงที่บอกว่าพอเราพูดあいづちตัวเองก็อินไปด้วย รู้สึกแบบนั้นเหมือนกันค่ะ เหมือนเราต้องตั้งใจฟังเขามากกว่าตอนที่แค่พยักหน้าตอบเฉยๆ

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ