2560/04/16

การเป็น聞き手ที่ดี -- เรียนรู้จากรายการNichiten

สวัสดีค่ะ ^^ วันหยุดสงกรานต์ไปเที่ยวไหนกันไหมคะ

ขอให้เดินทางปลอดภัย มีช่วงเวลาดีๆกับเพื่อน กับครอบครัว กันทุกคนนะคะ

วันนี้จะมาสรุปการเป็น "ผู้ฟัง" ที่ดี ว่าควรจะตอบรับ / あいづち / และแสดงความเห็นต่อสิ่งที่อีกฝ่ายพูดตอนไหน และอย่างไรบ้างค่ะ

โดยจะศึกษาจากรายการวิทยุญี่ปุ่น ชื่อ Nichiten สามารถเข้าไปสมัครเว็บนี้

https://radiocloud.jp/ แล้วก็ฟังย้อนหลังฟรีได้ค่ะ ^_^

เรื่องแรกที่เลือกฟังคือ 「必死に走った話―告白の後?―」ออกอากาศวันที่ 12 สิงหา 2012 ค่ะ
วินาทีที่ 5.59-9.55
เป็นเรื่องราวของเด็กผู้ชายวัย 17 ที่ส่งเข้ามา เล่าเรื่องประสบการณ์สารภาพรักกับแฟนเพื่อน แล้วดันได้นัดเดทกันจริงๆ 55555 ละตัวเองก็ตื่นเต้นมากจนขี่จักรยานไปไหนไม่รู้ บอกว่าถ้าไม่ปั่นไปเหมือนหัวสมองจะเป็นบ้า อะไรแบบนี้ค่ะ 55555

เรื่องที่สองคือ 「英語と私―イギリス人の旦那さんの愛情表現―」วันที่ 26 สิงหา 2012
วินาทีที่ 4.23-7.55 ค่ะ

นี่เลือกเพราะชื่อเรื่องแท้ๆ 55555
อันนี้เรื่องมีอยู่ว่า ผู้หญิงชาวญี่ปุ่น (ที่เก่งภาษาฝรั่งเศสมากกว่าอังกฤษ) เพิ่งแต่งงานกับชาวอังกฤษไม่นานมานี้ค่ะ ละก็ชอบทะเลาะกัน เพราะสามีบอกว่าเธอแสดงความรักไม่มากพอ พูดผิดนิดหน่อยสามีก็งอนรัวๆ 5555

ในรายการก็จะประกอบไปด้วยพิธีกร (ผู้ชาย) ที่คอยอ่านจดหมาย(?)เล่าเรื่อง กับ AD ผู้หญิง ที่จะคอยแทรก あいづち เป็นบางเวลาค่ะ จากนี้จะมาสังเกตวิธีการใช้ あいづち จากทั้งสองเรื่องที่กล่าวมานะคะ

1.ใช่เมื่ออีกฝ่ายพูดจบประโยคย่อย (ฝ่ายที่พูดก็จะpauseนิดนึงด้วย)

ประโยคภาษาญี่ปุ่นมันจะมีที่ที่ใส่ 、คั่นได้ค่ะ เป็นที่ที่คนพูดจะพูดจบความๆ หนึ่งแล้วหยุดหายใจ เท่าที่สังเกตดู 、ที่ว่านี้ก็จะอยู่หลังคำช่วย /หลังจุดเชื่อมประโยค เช่น ~て  / けどค่ะ AD ก็จะใช้จังหวะนั้น ตอบรับด้วย あいづち

ตัวอย่าง

หลังคำช่วย
พิธีกร - もうその車道の隅の自転車乗るところ乗ったんですが、前輪がその歩道の縁石のブロックに、
AD - ん
พิธีกร - 乗り上げちゃうんだよね

หลังจุดเชื่อมประโยค
พิธีกร - あの✖✖さんに告白をして
AD - えー
พิธีกร - そして、首尾、のいい感じの返事をもらったその帰り、
AD - んー
พิธีกร - 夜遅くになってましたけど自転車に乗って帰ったんですけども、
AD - ええ
พิธีกร - もう興奮しちゃって
AD - えー

2.ใช้เมื่ออีกฝ่ายพูดแนวๆ ขอความเห็น

ไม่เชิงขอความเห็นซะทีเดียวค่ะ อาจจะแบบ ですね/でしょ อะไรแบบนี้

เช่น

พิธีกร - やっぱ倦怠期みたいなことあるわけでしょ
AD - どうなんだろう
พิธีกร - きっとね
AD - ずっとこうなのかな、新婚だからかな
**เขียนแบบนี้เหมือนเขาผลัดกันพูดเลย แต่จริงๆแล้วเค้าไม่ได้แบ่งพูดขนาดนั้นค่ะ เหมือนพิธีกรเค้าก็พูดไปเรื่อยๆ มีหยุดนิดเดียว ละก็ไม่ได้หยุดฟัง AD พูดขนาดนั้น 5555 ทุกอย่างไหลไปเร็วมากค่ะ
แต่กรณีนี้ AD ก็จะพูดยาวขึ้นมาหน่อย เพราะถูกขอความเห็นค่ะ ไม่ใช่แค่ うん、えーอย่างเดียว

3.หลังอีกฝ่ายพูดจบประโยค

เช่น

พิธีกร - 今でも、オバマ大統領のスピーチよりも、オランドやサルコジ元大統領の言っていることの方が理解できます
AD - へー
พิธีกร - 素晴らしいですね
AD - かっこいい

4.มีอยู่ที่หนึ่ง ไม่รู้ว่าเรียกเป็นจบประโยคย่อยได้รึเปล่าค่ะ คือตรงนี้

พิธีกร - これはちょっと一息入れないとおれは家に帰るまでに命落として
AD - 笑
พิธีกร - しまうかもしれないと思って

อันนี้ดูผ่ากลางประโยคยังไงไม่รู้ค่ะ แต่แค่เสียงหัวเราะเอง 55


หรือส่วนใหญ่ อย่างที่บอกไปข้างต้น あいづち จะมาหลังคำช่วยค่ะ แต่พวกมาก่อนคำช่วยก็มี 555 แต่เป็นพวกหัวเราะเหมือนกัน เออแต่หัวเราะนี่มันใช่ あいづち รึเปล่านะ TT

ดังนั้น จะสรุปจากที่สังเกตมารวมๆว่า
あいづち จะพูดหลังจากที่อีกฝ่าย พูดเนื้อหาอะไรสักอย่างที่มันได้ใจความแล้ว ไม่จำเป็นต้องจบประโยคก็ได้ ขอแค่ได้ใจความๆหนึ่งแล้วค่ะ อาจเป็นวลี หรือประโยคย่อยก็ได้
แต่ก็น่าจะเป็นเรื่องปกติเนอะ เพราะเราจะออกความเห็น หรือตอบรับอะไรได้ ก็ต้องฟังอีกฝ่ายพูดให้เข้าใจก่อน

-- อื่นๆ --

ในหัวข้อที่สองที่ฟังมา มีคำว่า 倦怠期(けんたいき)ด้วยค่ะ เพิ่งเคยได้ยินครั้งแรก 5555
เลยไปหามา แปลว่า "ช่วงอิ่มตัว" ของความรัก แบบ ช่วงที่สามีภรรยาเริ่มจะเซ็งกัน


สำหรับบล็อกวันนี้ก็ขอจบลงเท่านี้นะคะ ^^ แล้วเจอกันใหม่ค่า









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น